พระพรหมสี่หน้า 四面佛
👉👉ศาลท้าวมหาพรหมที่โรงแรมแกรนด์ ไฮแอท เอราวัณ สถานที่ศักดิ์สิทธิ์แห่งสี่แยกราชประสงค์
ที่ชาวไทยและต่างชาติ ต่างศรัทธา และต้องมาสักการะบูชา
ก่อนอื่นเล่ามาดูประวัติของศาลท้าวมหาพรหมที่ได้จากวิกิพีเดีย(Wikepedia)กันค่ะ
👀👀ประวัติ
เมื่อ พ.ศ. 2494 พลตำรวจเอกเผ่า
ศรียานนท์ ขณะดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมตำรวจ กำหนดให้มีการก่อสร้างโรงแรมเอราวัณ ขึ้นบริเวณสี่แยกราชประสงค์
เพื่อรองรับแขกต่างประเทศ ว่ากันว่าในช่วงแรกของการก่อสร้างเกิดอุบัติเหตุขึ้นมากมาย
เมื่อการก่อสร้างใกล้แล้วเสร็จ ปลายปี พ.ศ. 2499 ทาง บริษัท สหโรงแรมไทยและการท่องเที่ยว
จำกัด ผู้บริหารโรงแรมได้ติดต่อ พลเรือตรีหลวงสุวิชานแพทย์ ร.น. นายแพทย์ใหญ่ กองทัพเรือ
ผู้ทรงคุณวุฒิในเรื่องการนั่งทางใน เข้าดำเนินการหาฤกษ์วันเปิดโรงแรม
พลเรือตรีหลวงสุวิชานแพทย์ได้ท้วงติงว่า
ในการก่อสร้างโรงแรมไม่ได้มีการทำพิธีบอกกล่าวสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในบริเวณนั้นก่อน ฤกษ์ในการวางศิลาฤกษ์ของโรงแรมก็ไม่ถูกต้อง
อีกทั้งชื่อของโรงแรม "เอราวัณ" นั้น เป็นชื่อของช้างทรงของพระอินทร์ ถือเป็นชื่อที่ศักดิ์สิทธิ์
จำเป็นต้องมีการบวงสรวงที่เหมาะสม วิธีการแก้ไขจะต้องขอพรจากพระพรหมเพื่อช่วยให้อุปสรรคหมดไป
และจะต้องสร้างศาลพระพรหมขึ้นทันทีหลังจากการก่อสร้างโรงแรมแล้วเสร็จ และสร้างศาลพระภูมิขึ้นไว้ในโรงแรม จึงได้มีการตั้งศาลพระพรหม ออกแบบตัวศาลโดยนายระวี ชมเสรี และ
ม.ล.ปุ่ม มาลากุล องค์ท้าวมหาพรหมปั้นด้วยปูนพลาสเตอร์ปิดทอง ออกแบบและปั้นโดยนายจิตร
พิมพ์โกวิท ช่างกองหัตถศิลป์ กรมศิลปากร และอัญเชิญพระพรหมมาประดิษฐานที่หน้าโรงแรมเอราวัณเมื่อวันที่
9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2499
ตามแผนงานครั้งแรก องค์ท้าวมหาพรหมจะเป็นโลหะหล่อสีทอง
แต่เนื่องจากระยะเวลาจำกัดด้วยฤกษ์การเปิดโรงแรม จึงได้เปลี่ยนวัสดุเป็นปูนปั้นปิดทองแทน
นอกจากนี้แล้ว ท้าวมหาพรหม
โรงแรมแกรนด์ไฮแอทเอราวัณ ยังถือว่าเป็นพระพรหมที่ถูกสร้างขึ้นมาห้วงเวลาเดียวกับพระพรหมที่ตั้งสถิตย์อยู่ในศาลบนดาดฟ้าตึกไทยคู่ฟ้า
ทำเนียบรัฐบาล โดยเกิดจากการให้คำแนะนำของพลเรือตรีหลวงสุวิชานแพทย์เช่นเดียวกัน
ศาลท่านท้าวมหาพรหม โรงแรมเอราวัณ
ถือเป็นศาลพระพรหมศาลแรกที่มีขนาดใหญ่
ในเวลาต่อมาเมื่อมีการสร้างศาลพระพรหมไว้บูชาในอาคารหรือสถานที่ขนาดใหญ่
จะยึดแบบการสร้างจากศาลท้าวมหาพรหมที่โรงแรมเอราวัณ เนื่องจากเป็นความเชื่อว่าจะช่วยปัดเป่าความขัดข้อง
อุปสรรค และส่งเสริมโชคและความสำเร็จ
ด้วยเหตุที่ท่านท้าวมหาพรหมถูกชายที่ไม่สมประกอบทุบในวันที่
21 มีนาคม พ.ศ.2549 ซึ่งทำให้ตัวองค์แตก
ดังนั้นจึงมีกำหนดการที่จะบูรณะพระองค์ขึ้นมาใหม่ พร้อมกับสร้างองค์ใหม่ด้วย แล้วเสร็จในปลายเดือนพฤษภาคมปีเดียวกัน ในระหว่างบูรณะ ทางการได้นำภาพท้าวมหาพรหมติดตั้งแทน
มูลนิธิทุนท่านท้าวมหาพรหม โรงแรมเอราวัณ ได้ทำพิธีอัญเชิญองค์ท่านท้าวมหาพรหม ที่บูรณะเสร็จแล้วกลับมาประดิษฐานที่เทวาลัย
ในวันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ.2549 เวลา 11.39 น. ซึ่งเป็นเวลาที่องศาของดวงอาทิตย์ส่องตรงศาลพอดี
โดยอัญเชิญเป็นขบวนจากกรมศิลปากรมาจนถึงศาลท้าวมหาพรหม
ปัจจุบัน ศาลท้าวมหาพรหม โรงแรมแกรนด์ไฮแอทเอราวัณ
อยู่ในความดูแลของ "มูลนิธิทุนท่านท้าวมหาพรหม" มีการรำละครชาตรี แก้บนกันทุกวัน
โดยเหตุว่าพระพรหมที่เป็นที่รู้จักและเคารพนับถือกันอย่างมาก เชื่อกันว่าถ้าบนบานด้วยละครรำ
จะประสบผลสำเร็จในสิ่งที่ต้องการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหมู่ชาวต่างชาติ เช่น ชาวจีนถึงมีการจัดทัวร์มาสำหรับไหว้สักการะโดยเฉพาะ
และมีชาวจีนที่มีชื่อเสียงหลายคนเคยเดินทางมาที่นี่
อัตราค่าแสดงละครรำชาตรี ซึ่งราคาจะขึ้นอยู่กับจำนวนนักรำโดยเริ่มตั้งแต่จำนวนนักรำ 2 คนขึ้นไป จนถึง 8 คน ดังรูปข้างล่างค่ะ
เนื่องด้วย พระพรหม ท่านมี 4 พักตร์
และแต่ละพักตร์จะให้พรที่แตกต่างกันไป ดังนั้นเรามาดูในแต่ละพักตร์ ว่าให้พรในด้านใดบ้างค่ะ
พักตร์แรก คือด้านหน้า พักตร์นี้ให้พอพรเกี่ยวกับเรื่องการงาน
การเรียน การศึกษา การสอบแข่งขัน อำนาจบารมี
พักตร์ที่2
(วนซ้ายตามเข็มนาฬิกา)พักตร์นี้ให้ขอพรเกี่ยวกัยเรื่องทรัพย์สินอสังหาริมทรัพย์
พักตร์ที่3พักตร์นี้ให้ขอพรเกี่ยวกับเรื่องสุขภาพและครอบครัว
พักตร์ที่4ให้ขอพรเกี่ยวกับเรื่องโชคลาภ
เงินทอง ลาภลอยการเสี่ยงดวงและบุตรหลาน
🙏🙏เครื่องบูชา เครื่องสังเวยต่างๆ
ดอกไม้ กลิ่นหอมอ่อนๆ
ดอกมะลิ ดอกดาวเรือง ดอกบัว ดอกโมก
กำยานและธูป ใช้จุดได้ทุกกลิ่น
อาหารที่ถวาย ควรเป็นขนมหวาน รสอ่อน ไม่ปรุงรสมากเกิน ไม่เค็มจัด
ไม่ผสมสี เน้นธรรมชาติให้มากที่สุด
ผลไม้ ถวายได้ทุกชนิด
แนะนำมะพร้าว สาลี่ ชมพู่ กล้วย
สามารถถวายธัญพืช เช่น ข้าวกล้อง ข้าวสาร ข้าวหุง เมล็ดถั่วต่างๆ
งาขาว งาดำ ลูกเดือย เผือก มัน สมุนไพร เมล็ดพริกไทย ผักชี
ใบกระเพรา พืชผักสดต่างๆ (ของทุกอย่างจะสุกหรือไม่สุกก็ได้ เช่น
ผักสดก็ถวายได้ ผักต้มสุกก็ถวายได้) ห้ามถวายเนื้อสัตว์เด็ดขาด
💁💁เรามาดูคำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับศาลท้าวมหาพรหมกันค่ะ
四面佛
Sì miàn fó
พระพรหมสี่หน้า
梵天
Fàn tiān
พระพรหม
神坛
Shén tán
ศาลจ้าว แท่นบูชา
爱侣湾酒店
Ài lǚ wān jiǔ diàn
โรงแรมเอราวัณ
爱吕湾君悦酒店
Ài lǚ wān jūn yuè jiǔ diàn
โรงแรมแกรนด์ ไฮแอท เอราวัณ (Grand Hyatt Erawan Bangkok)
神圣的地方
Shén shèng de dì fāng
สถานที่ศักดิ์สิทธิ์
信仰
Xìn yǎng
ความศรัทธา
拜
Bài
ไหว้
崇拜
Chóng bài
เลื่อมใสศรัทธา บูชา
来历
Lái lì
ความเป็นมา ประวัติ
修建
Xiū jiàn
ก่อสร้าง สร้าง
施工人员
Shī gōng rén yuán
คนงานก่อสร้าง
事故频频
Shì gù pín pín
เกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง
离奇死亡
Lí qí sǐ wáng
การตายที่แปลกประหลาด
打坐
Dǎ zuò
นั่งทางใน นั่งเข้าฌาณ นั่งสมาธิ
良辰吉日
Liáng chén jí rì
ฤกษ์งามยามดี
奠基礼
Diàn jī lǐ
พิธีวางศิลาฤกษ์
帝释天/因陀罗
Dì shì tiān/Yīn tuó luó
พระอินทร์
因陀罗的坐骑
Yīn tuó luó de zuò qí
พาหนะที่พระอินทร์นั่ง
(พระอินทร์มีพาหนะคือช้างเอราวัณ ซึ่งปรกติเป็นเทวดาองค์หนึ่ง เมื่อพระอินทร์ประสงค์จะเดินทางไปในที่ใด เทวดาเอราวัณก็จะกลายร่างเป็นช้างพาหนะ)
帝释天尊骑象
Dì shì tiān zūn qí xiàng
พระอินทร์ทรงช้าง
黄金铸造
Huáng jīn zhù zào
โลหะหล่อสีทอง
还愿
Huán yuàn
แก้บน
祈祷
Qí dǎo
อธิษฐาน ภาวนา
许愿
Xǔ yuàn
บนบาน
传统舞蹈
Chuán tǒng wǔ dǎo
รำไทย
正面
Zhèng miàn
ด้านหน้า
顺时针
Shùn shízhēn
ตามเข็มนาฬิกา
事业
Shì yè
กิจการ การงาน
财富
Cáifù
ทรัพย์สมบัติ ทรัพยากร
健康
Jiàn kāng
สุขภาพแข็งแรง
家庭
Jiā tíng
ครอบครัว
财运
Cái yùn
โชคลาภทางด้านการเงิน
贡品
Gòng pǐn
ชุดไหว้ เครื่องบรรณาการ
万寿菊
Wàn shòu jú
ดอกดาวเรือง
茉莉花
Mò lì huā
ดอกมะลิ
莲花
Lián huā
ดอกบัว
水梅/水茉莉
Shuǐ méi/Shuǐ mò lì
ดอกโมก
花环
Huā huán
พวงมาลัยดอกไม้
直条香
Zhí tiáo xiāng
ธูป
蜡烛
Là zhú
เทียน
🌻🌻🌻