เสียงวรรณยุกต์ในภาษาจีน 声调


             ภาษาจีนเป็นภาษาที่มีเสียงวรรณยุกต์ด้วยกันทั้งหมด 4 เสียง ซึ่งแบ่งโดยการใช้สัญลักษณ์ดังต่อไปนี้

             เสียงวรรณยุกต์ที่ 1  ¯  

             เสียงวรรณยุกต์ที่ 2   ˊ  

             เสียงวรรณยุกต์ที่3    ˇ  

             เสียงวรรณยุกต์ที่4  “  `  

             ซึ่งดัดแปลงมาจากเส้นกราฟที่แสดงลักษณะการออกเสียงวรรณยุกต์ 4 เสียง ดังนี้


เสียงวรรณยุกต์มีบทบาทในการแบ่งแยกความหมายของคำ เช่น mā( แม่) , má (รู้สึกชา) , mǎ( ม้า),mà( ดุ,ด่า) ซึ่งเราจะเห็นว่า ถึงแม้จะเป็นพยางค์เดียวกัน แต่ถ้าเสียงวรรณยุกต์ไม่เหมือนกัน ความหมายก็จะไม่เหมือนกัน

         
ส่วนวิธีการวางเสียงวรรณยุกต์นั้นมีหลักการดังนี้

          1. เมื่อพยางค์หนึ่งพยางค์มีสระเพียงตัวเดียว(สระเดี่ยว) จะวางสัญลักษณ์เสียงไว้ข้างบนของสระ นั่นก็คือ a o e i u ü  แต่ถ้าสระนั้นเป็นตัว i ให้ตัดเอาจุดด้านบนของตัว i ออกแล้วเขียนสัญลักษณ์เสียงไว้บนนั้น เช่น (nĭ) ,(yī)

         2.แต่ถ้าหากว่าพยางค์ใดมีสระมากกว่าสองตัวขึ้นไป ให้วางสัญลักษณ์เสียงไว้บนสระตัวหลัก เช่น  学生(Xué shēngคำว่า Xué เราจะใส่วรรณยุกต์บนตัว e เพราะ สระ e อยู่ก่อนลำดับสระ u 
สรุปก็คือ ให้ใส่เครื่องหมายแทนเสียงวรรณยุกต์ตามลำดับดังนี้  a o e i u ü ใน 6 ตัวนี้ถ้าสระตัวไหนมาก่อนให้ใส่ตัวนั้นไปได้เลย 


3.ยกเว้นเมื่อพินอินมีคำสระ ui หรือ iu ให้ใส่เครื่องหมายแทนเสียงวรรยุกต์บนตัวหลังสุด เช่น 贵 (guì)  就 (jiù ) ที่เป็นเช่นนี้เนื่องด้วย สมัยก่อนจะมีพินอินสี่ตัว เช่น (guoi )( jieu) มาก่อน ซึ่ง ณ ตอนนี้พินอิน ได้เหลือพินอินเพียง 3ตัวเท่านั้น ทำให้คำการวางวรรณยุกต์ จะวางอยู่บน i u แทน


4.การผันเสียงของพยางค์เสียงวรรณยุกต์ที่ 3  ที่มี 2 พยางค์ที่ออกเสียงวรรณยุกต์ที่ 3 ติดกัน ดังนั้นพยางค์แรกต้องผันเป็นเสียงวรรณยุกต์ที่ 2  อย่างเช่น คำว่า 你好(nǐ hǎo) ออกเสียงเป็น ní hǎo แต่เวลาเขียนวรรณยุกต์ ยังคงใส่วรรณยุกต์เป็นเสียง 3  เหมือนเดิม

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การศึกษาขั้นพื้นฐาน – มัธยมศึกษาตอนต้น初中 และมัธยมศึกษาตอนปลาย 高中

รวมชื่อสถานที่ท่องเที่ยว จุดท่องเที่ยวที่สำคัญในกรุงเทพฯ 曼谷旅游景点

รวมชื่อสถานที่ท่องเที่ยวในเชียงใหม่ 清迈旅游景点