星期佛或七日佛 พระประจำวันเกิด
พระประจำวันเกิดมีด้วยกันทั้งหมด 8 ปาง ตามวันในสัปดาห์ คือ วันอาทิตย์ วันจันทร์ วันอังคาร วันพุธ(ปางวันพุธกลางวัน และปางวันพุธกลางคืน) วันพฤหัสบดี วันศุกร์ และเสาร์ กล่าวกันว่าการสร้างพระพุทธรูปปางต่าง ๆ ให้เป็นพระพุทธรูปประจำวันเกิดในแต่ละวันนั้น เป็นความเชื่อของคนสมัยก่อนที่จะหาที่พึ่งทางใจ และถือว่าการบูชาพระประจำวันเกิดเป็นมงคลอันสูงยิ่งอีกประการหนึ่ง ดังนั้นเรามาเรียนรู้คำศัพท์ว่าพระประจำวันเกิด ในแต่ละปาง ภาษาจีนพูดว่าอย่างไรกันบ้างค่ะ
成道佛
Chéng dào fó
ปางถวายเนตร
วันอาทิตย์ ปางถวายเนตร
พระพุทธรูปอยู่ในพระอิริยาบถยืน ลืมพระเนตรทั้งสองเพ่งไปข้างหน้า
พระหัตถ์ทั้งสองห้อยลงมาประสานกันอยู่ระหว่างพระเพลา(ตัก)พระหัตถ์ขวาซ้อนเหลื่อมพระหัตถ์ซ้ายอยู่ในพระอาการสังวรทอดพระเนตรดูต้นพระศรีมหาโพธิ์
平定佛
Píng dìng fó
ปางห้ามสมุทร
วันจันทร์ ปางห้ามสมุทร
พระพุทธรูปอยู่ในพระอิริยาบถยืน
ยกพระหัตถ์ทั้งสองแบตั้งขึ้นยื่นออกไปข้างหน้าเสมอพระอุระ(อก)เป็นกิริยาห้าม เป็นปางเดียวกันกับปางห้ามญาติ
บางแบบเป็นพระทรงเครื่อง (บางตำราใช้พระปางห้ามญาติเป็นพระประจำวันจันทร์)
涅槃佛 / 卧佛
Niè pán fó / Wò fó
พระปางไสยาสน์
วันอังคาร ปางไสยาสน์
พระพุทธรูปอยู่ในพระอริยาบถนอนตะแคงขวา พระบาททั้งสองข้างซ้อนทับเสมอกัน
พระหัตถ์ซ้ายทาบไปตามพระวรกาย พระหัตถ์ขวาตั้งขึ้นรับพระเศียรและมีพระเขนย (หมอน) รองรับ
บางแบบพระเขนยวางอยู่ใต้พระกัจฉะ (รักแร้)
托钵佛
Tuō bō fó
ปางอุ้มบาตร
พระพุทธรูปอยู่ในพระอิริยาบถยืน พระหัตถ์ทั้งสองประคองบาตรราว
สะเอว
禅定佛
Chán ding fó
ปางป่าลิไลย์
วันพุทธ
กลางคืน ปางป่าลิไลย์
พระพุทธรูปอยู่ในพระอิริยาบถประทับ(นั่ง)บนก้อนศิลา
พระบาททั้งสองวางบนดอกบัวพระหัตถ์ซ้ายวางคว่ำบนพระขนุ(เข่า)พระหัตถ์ขวาวางหงาย
นิยมสร้างช้างหมอบใช้งวงจับกระบอกน้ำ อีกด้านหนึ่งมีลิงถือรวงผึ้งถวาย
冥想佛
Míng xiǎng fó
ปางสมาธิ หรือ ปางตรัสรู้
วันพฤหัสบดี ปางสมาธิ หรือ ปางตรัสรู้
พระพุทธรูปอยู่ในพระอิริยาบถประทับ(นั่ง)ขัดสมาธิ
พระหัตถ์ทั้งสองวางหงายซ้อนกันบนเพลา(ตัก)พระหัตถ์ขวาทับพระหัตถ์ซ้าย พระชงฆ์(แข้ง)ขวาทับพระชงค์ซ้าย
内观佛
Nèi guān fó
ปางรำพึง
วันศุกร์ ปางรำพึง
พระพุทธรูปอยู่ในพระอิริยาบถยืน พระหัตถ์ทั่งสองประสานกันยกขึ้นประทับที่พระอุระ(อก)พระหัตถ์ขวาทับพระหัตถ์ซ้าย
蛇神护法佛
Shé shén hù fǎ fó
ปางนาคปรก
วันเสาร์ ปางนาคปรก
พระพุทธรูปอยู่ในอิริยาบถประทับ(นั่ง)ขัดสมาธิ
หงายพระพักตร์ทั้งสองวางซ้อนกันบนพระเพลา(ตัก)
พระหัตถ์ขวาซ้อนทับพระหัตถ์ซ้ายเหมือนปางสมาธิ แต่มีพญานาคขนดร่างเป็นวงกลม
เป็นพุทธบัลลังก์ และแผ่พังพานปกคลุมอยู่เหนือพระเศียร