พระวิหารทิศ ในวัดโพธิ์ 方位殿

         หากจะกล่าวถึงวัดทีมีพระพุทธรูป佛像มากที่สุดในประเทศไทยแล้ว วัดโพธิ์ 卧佛寺 ก็ถือว่าเป็นอันดับต้นๆที่มีพระพุทธรูปประดิษฐานอยู่มากที่สุดวัดหนึ่งเลยค่ะ ซึ่งพระพุทธรูปที่ท่านๆเห็นกันเป็นจำนวนมากในวัดโพธิ์นั้น  มีทั้งที่อยู่คู่กับวัดโพธิ์มาตั้งแต่สมัยอยุธยา 大城时代 และที่มาจากการรวบรวมมาจากหัวเมืองต่างๆ ในสมัยของต้นรัตนโกสินทร์  ซึ่งเมื่อครั้งที่ รัชกาลที่ 1 พระองค์ได้โปรดให้อัญเชิญพระพุทธรูปมาจากเมืองสุโขทัย素可泰  อยุธยา大城 พิษณุโลก彭世洛 ศรีสัชนาลัย西萨差那莱 และลพบุรี华富里  ลงมาปฏิสังขรณ์ซ่อมแซมใหม่ถึง 689  องค์ รวมกับพระพุทธรูปที่มีอยู่เดิม 183 องค์ เป็น 872 องค์ แล้วได้ทรงโปรดเกล้าฯให้ประดิษฐานไว้ในพระวิหารคด曲殿  และพระระเบียง走廊 ของวัดโพธิ์ นอกจากนี้ยังโปรดเกล้าฯให้อัญเชิญพระพุทธรูปองค์สำคัญๆขนาดใหญ่มาประดิษฐานในวิหารทิศ方位殿 แต่ละหลังด้วย


บทความนี้เราจะไปดู พระพุทธรูปองค์ต่างๆ ในวิหารทิศกันค่ะ

พระวิหารทิศ方位殿 นั้น เชื่อมต่อกับพระระเบียง走廊  อยู่รอบพระอุโบสถ大雄宝殿 ทั้งสี่ทิศ  โดยแบ่งออกเป็น ทิศตะวันตก西殿  ทิศเหนือ北殿 ทิศตะวันออก东殿  และทิศใต้南殿 ค่ะ  เรามาเริ่มกันที่



พระวิหารทิศตะวันตก西殿 ประดิษฐานพระพุทธรูปปางนาคปรก 蛇神护法佛  อัญเชิญมาจากลพบุรี 华富里 นามว่า “พระพุทธชินศรีมุนีนาถ อุรุคอาสนบัลลังก์  อุทธังทิศภาคนาคปรก ดิลกภพบพิตร” หรือ “พระพุทธชินศรี 清洗佛陀 ว่ากันว่า เดิมเป็นพระพุทธรูปขนาดหน้าตักสามศอกคืบสิบนิ้ว ครั้นเมื่อปฏิสังขรณ์แล้ว จึงประดิษฐานไว้เป็นพระประธานพระวิหารทิศตะวันตก และได้สร้างพญานาคแผลงฤทธิ์และต้นจิกไว้ด้านหลังพระประธานด้วย จึงถูกเรียกว่า “พระนาคปรก” พระพุทธชินศรีอยู่ในอิริยาบถนั่งขัดสมาธิราบ ลักษณะคือ พระชงฆ์ขวาวางอยู่เหนือพระชงฆ์ซ้าย ทำให้แลเห็นฝ่าพระบาทขวาเพียงข้างเดียว ในขณะที่ฝ่าพระบาทซ้ายอยู่ใต้กพระชานุขวา พระหัตถ์ทำปางมารวิชัย ลักษณะคือ พระหัตถ์ขวาวางอยู่หน้าพระชงฆ์ขวา พระหัตถ์ซ้ายวางอยู่เหนือพระเพลา พระองค์ประทับอยู่บนขนดนาคซ้อนกัน  4 ชั้น เบื้องหลังเป็นพังพานและเศียรนาค 7 เศียร และมีต้นจิกอยู่ถัดออกไปทางเบื้องหลัง
ซึ่งตามปกติแล้วพระพุทธรูปปางนาคปรกนิยมทำพระหัตถ์ในท่าสมาธิ พระหัตถ์ทั้งสองวางเหนือพระเพลาโดยพระหัตถ์ขวาวางบนพระหัตถ์ซ้าย แต่พระพุทธชินศรีกลับอยู่ในท่ามารวิชัย เป็นสิ่งที่อยู่นอกแบบแผนประเพณี ที่เป็นเช่นนี้อธิบายได้ว่าเพราะขนดนาคกับพระพุทธรูปมิได้สร้างขึ้นครั้งเดียวกัน โดยขนดนาคทำขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 1 ส่วนพระพุทธชินศรีสร้างขึ้นครั้งกรุงสุโขทัย ซึ่งเป็นยุคสมัยที่นิยมพระพุทธรูปปางมารวิชัยเป็นอย่างยิ่ง สร้างขึ้นโดยมิได้ตั้งใจให้เป็นพระพุทธรูปนาคปรกมาแต่แรก แต่ด้วยพระราชประสงค์ของรัชกาลที่ 1 ที่โปรดอัญเชิญพระพุทธรูปองค์นี้มาประดิษฐานไว้เหนือขนดนาค จึงทำให้เกิดเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยประทับอยู่บนขนดนาค
สำหรับในส่วนของนาคยังมีข้อน่าสังเกตเพิ่มเติมอีก กล่าวคือ คัมภีร์พุทธศาสนาต่างพรรณนาเหตุการณ์นี้ว่าพญานาคมุจลินท์ขนดกายล้อมองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า 7 รอบ และแผ่พังพานปกป้องพระเศียร แต่ขนดนาคที่ปรากฏร่วมกันกับพระพุทธชินศรีกลับทำในลักษณะของบัลลังก์ให้พระพุทธองค์ประทับ มิได้ล้อมรอบ และพังพานนาคก็มิได้ปกเหนือพระเศียรอย่างมิดชิด แต่เหมือนแผ่อยู่เบื้องหลังมากกว่า แม้ว่าจะไม่สอดคล้องกับคัมภีร์พุทธศาสนา แต่นาคในลักษณะเช่นนี้ก็นิยมทำกันมาเนิ่นนานแล้ว และสร้างพลังศรัทธาในองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าต่อผู้พบเห็นได้เป็นอย่างดี ประหนึ่งว่าแสดงอิทธิปาฏิหาริย์เหนือพญานาค แต่หากทำขนดนาคล้อมรอบ 7รอย และแผ่พังพานคุ้มกันอย่างมิดชิด อาจให้ความรู้สึกอึดอัดต่อผู้พบเห็น เพราะเสมือนว่าพระพุทธองค์กำลังถูกนาคทำร้าย
พระพุทธชินศรีมีรูปแบบตามอย่างพระพุทธรูปสุโขทัยสอดคล้องกันกับประวัติที่ระบุว่าอัญเชิญมาจากเมืองสุโขทัย แต่ทั้งนี้ลักษณะบางประการโดยเฉพาะพระพักตร์ในสมัยรัชกาลที่ 1 โปรดให้อัญเชิญมาจากเมืองสุโขทัย แต่ทั้งนี้ลักษณะบางประการโดยเฉพาะพระพักตร์ก็ดูละม้ายกับพระพุทธสมัยรัตนโกสินทร์อยู่บ้าง ชวนให้นึกถึงข้อมูลเอกสารที่ระบุว่าในสมัยรัชกาลที่ 1 โปรดให้อัญเชิญพระพุทธรูปที่ชำรุดหักพังจากหัวเมืองต่างๆ คือ พิษณุโลก สวรรคโลก สุโขทัย ลพบุรี อยุธยา จำนวน 1,248 องค์ มาปฏิสังขรณ์ อาทิ ต่อพระศอ พระเศียร พระบาท พระหัตถ์ที่ชำรุดเสียหาย แปลงพระพักตร์ แปลงพระองค์ให้งดงาม อาจเป็นไปได้ว่าพระพุทธชินศรีก็เป็นหนึ่งในพระพุทธรูปที่อัญเชิญมาในครั้งนี้ด้วย

ขอบคุณข้อมูลจาก http://www.watpho.com/buddha.php




พระวิหารทิศเหนือ 北殿 ประดิษฐานพระปางป่าเลไลยก์ นามว่า “พระพุทธปาลิไลยภิรัติไตรวิเวก เอกจาริกสมาจาร วิมุติญาณบพิตร” หรือ “พระพุทธปาลิไลย 禅定佛” เป็นพระพุทธรูปที่หล่อขึ้นใหม่ในสมัยรัชกาลที่ 1 เพียงองค์เดียวเท่านั้น นอกจากนี้ยังสร้างรูปช้างถวายคนทีน้ำ และรูปลิง 猴子ถวายรวงผึ้งอีกด้วย







พระวิหารทางทิศตะวันออก东殿 ภายในมีพระพุทธรูปปางยืน立佛สูง 10 เมตร หล่อด้วยสำริด เป็นพระพุทธรูปที่รัชกาลที่ ทรงโปรดฯให้อัญเชิญมาจากวัดพระศรีสรรเพชญ์ 大觉寺จังหวัดพระนครศรีอยุธยา大城 府 พระยืนองค์นี้ยังเป็นพระพุทธรูปองค์ที่มีขนาดใหญ่และมีความสมบูรณ์ที่สุด ที่ตกทอดมาจากสมัยอยุธยา มีนามว่า “พระพุทธโลกนาถศาสดาจารย์”




พระวิหารทางทิศใต้南殿 ประดิษฐานพระพุทธรูปปางปฐมเทศนาอัญเชิญมาจากกรุงเก่า นามว่า “พระพุทธชินราช วโรวาทธรรมจักร อัครปฐมเทศนา  นราศภบพิตร” หรือ ที่เรียกว่า “พระพุทธชินราช成功佛或七那拉佛









Basic Expressions for Dialogues---Inquiries 询问用语

  询问用语 xúnwèn yòngyǔ Inquiries 👇👇👇 A: 你怎么上学? nǐ zěnme shàngxué? How do you go to school? B: 我通常步行上学。有时候骑自行车。 wǒ tōngcháng bùxíng shà...

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม