แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ ปราสาทสัจธรรม แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ ปราสาทสัจธรรม แสดงบทความทั้งหมด

ปราสาทสัจธรรม 真理寺


สำหรับบทความนี้จะขอนำเสนอสถานที่ท่องเที่ยว ซึ่งเป็น 1 ในโครงการ “โครงการมุมมองใหม่เมืองไทย”หรือ   Unseen Thailand และเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่ไม่ไกลจากกรุงเทพฯ สามารถไปเที่ยวแบบไป - กลับได้ โดยที่ไม่ต้องค้างคืน  ในบทความนี้จะเสนอประวัติ พร้อมด้วยคำศัพท์ภาษาจีนที่เกี่ยวข้องกับปราสาทสัจธรรม ซึ่งจะรวมไว้ที่ท้ายบทความค่ะ
ปราสาทสัจธรรม เป็นสถาปัตยกรรมที่มีความงดงามและแฝงไว้ด้วยหลักปรัชญา คุณงามความดีของศาสนารวมไปถึง การก่อกำเนิดโลก และที่สำคัญใครจะเชื่อว่าปราสาทหลังนี้ไม่ได้ใช้ตะปูตอกเลยสักชิ้นเดียว
ปราสาทสัจธรรมเริ่มก่อสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2524 (ค..1891) จากแรงบันดาลใจสุดยิ่งใหญ่ ของคุณเล็ก และ คุณประไพ วิริยะพันธุ์ ที่ว่าด้วยสังคมโลกในปัจจุบันนี้มีความเจริญก้าวหน้าทางวัตถุอย่างมากมายทำให้คนเกิดความทะเยอทะยาน เกิดการเบียดเบียนเอาเปรียบแก่งแย่งซึ่งกันและกันส่งผลให้เกิดความไม่สงบสุขในสังคม จึงก่อเกิดเป็นสิ่งก่อสร้างที่สุดอัศจรรย์ขึ้นมาโดยผสมผสานระหว่างหลักธรรมปรัชญาและศิลปะชั้นเลิศจากฝีมือมนุษย์


ปราสาทสัจธรรมเป็นอาคารที่สร้างด้วยไม้แกะสลักทั้งหลังที่ใหญ่ที่สุดใน โดยไม้ที่ใช้ในการก่อสร้างนั้นจะประกอบด้วยไม้แดง ไม้ตะเคียน ไม้เคี่ยมคะนอง และไม้สักทอง ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นไม้เนื้อแข็ง ที่สามารถรองรับน้ำหนักได้อย่างมหาศาล เป็นไม้ที่ได้มาจากการสัมปทานจากประเทศเพื่อนบ้าน การเข้าไม้ของประสาทใช้การยึดต่อไม้แบบโบราณ การเข้าเดือยตอกสลักเข้าลิ่มเข้าหางเหยี่ยวโดยไม่มีการใช้ตะปู 


ตัวอาคารของปราสาทสัจธรรมมีขนาดความสูง 105 เมตร กว้างยาวจากทิศเหนือจรดทิศใต้ 100 เมตร และทิศตะวันออกจรดทิศตะวันตก 100 เมตร พื้นที่ในประสาทมีทั้งหมด 2,115 ตารางเมตร 2,115 ตารางเมตร อาคารมีลักษณะเป็นทรงไทยจัตุรมุข ลักษณะด้านล่างของฐานปราสาท จะเป็นลักษณะฐานสิงห์ ห้องโถงและหน้าต่างเปิดให้ลมและแสงสว่างเข้าออกทั้งสี่ด้าน ภายในถูกตกแต่งด้วยศิลปะแนวความคิดใหม่ที่ผสมผสานกันตั้งแต่อยุธยาตอนต้นจนถึงศิลปะรัตนโกสินทร์  หลังคาซ้อน ลดหลั่นกันสี่ด้าน ยอดเป็นสัญลักษณ์พระปรางค์   ยอดสูงทั้งสี่ด้านมีรูปแกะสลักลอยตัว สัญลักษณ์ของเทพยืนบนยอดทั้งสี่ทิศ  ซึ่งมีเทพดังต่อไปนี้


เทพีถือพระคัมภีร์ หมายถึงหน้าที่ในการสืบต่อเนื่องปรัชญาของศาสนา เพื่อให้มนุษย์มีทิศทางดำเนินชีวิตอย่างถูกต้อง
เทวดา ถือ ดอกบัว หมายถึงหน้าที่ในการปฏิบัติหน้าที่ให้เกิดผลต่อส่วนรวมจากคำสอนของศาสนา คือการสืบต่อศาสนาให้อยู่ในโลกต่อไป
เทพีถือรวงข้าวและนกพิราบเกาะแขน หมายถึงหน้าที่ต้องรักษาความอุดมสมบูรณ์เพื่อสันติสุขแห่งชาวโลก
เทวดาจูงเด็กและคนชรา หมายถึง หน้าที่ต้องสืบทอดเจตนารมณ์ดำรงเผ่าพันธุ์ของมนุษย์ให้ต่อเนื่อง ตั้งอยู่บนความเป็นมนุษยธรรม
ยอดสูงสุดตรงกลาง เทวดาทรงม้า หมายถึง หน้าที่ทั้ง 4 ยอดเล็กรวมเป็นหนึ่งเดียวดั่งมหาวีระบุรุษ ที่ให้มวลมนุษยชาติสู่โลกอนาคตอย่างมีเป้าหมาย คือ ความสงบสุข สันติของโลก สถานที่แห่งนี้ปรารถนาให้มวลมนุษย์ได้ตระหนักถึงสัจธรรมแห่งชีวิต ตั้งจิตเพื่อฟ้าดิน มีชีวิตเพื่อมนุษยชาติ สืบต่อวิทยาการสุดยอดจากปราชญ์ในอดีตและสร้างสันติสุขชั่วกาลนานแก่มนุษยชาตินี้ คือเป้าหมายอันแท้จริงที่ศาสตร์อันยิ่งใหญ่ของมนุษย์ต้องการบรรลุ 



ภายในปราสาทได้ถูกแบ่งออกเป็นห้องห้องแต่งแฝงเรื่องราวแห่งคติธรรมมากมาย
ห้องที่หนึ่ง (ทิศตะวันตก) คือ ห้องก่อกำเนิดสรรพสิ่ง ที่ประกอบไปด้วยธาตุหลักของโลกมีเพียง 4 ธาตุ หรือ ที่เรียกว่าห้องดิน น้ำ ลม ไฟ ซึ่งจะผ่านประติมากรรมงานไม้แกะสลักเป็นนูนสูงและนูนต่ำ



ธาตุดิน เทพที่ดูแลธาตุดิน ก็คือ “พระอิศวร” ที่ประทับบนยอดเขาไกรลาส ด้านล่างขององค์เทพ จะเห็นเป็นภูเขามีต้นไม้ สัตว์ป่า



ธาตุน้ำ เทพที่ดูแลก็คือ  “พระนารายณ์”  ทรงบรรทมอยู่เหนือขนดพญาอนันตนาคราช กลางเกษียณสมุทร (ทะเลน้ำนม) จึงทรงเป็นเทพผู้ยิ่งใหญ่แห่งท้องน้ำ (ธาตุน้ำ) ด้านล่างขององค์เทพจะเห็นเป็นเกลียวคลื่น มีมหาสมุทร



ธาตุไฟ เทพที่ดูแล ก็คือ “พระอิศวร” พระอิศวรทรงมีพระเนตรที่สามบนพระนลาฏ (หน้าผาก) เมื่อทรงลืมพระเนตรที่สามขึ้นจะทำให้เบื้องหน้าลุกเป็นไฟ (ธาตุไฟ)  ด้านล่างองค์เทพก็จะมีเปลวไฟ



ธาตุลม เทพที่ดูแล ก็คือ “พระพรหม” ทรงหงส์อยู่กลางอากาศ จึงเป็นเทพผู้ยิ่งใหญ่แห่งนภาอากาศ (ท้องฟ้า) คือ ธาตุลม ด้านล่างขององค์เทพจะเห็นเป็นต้นไม้ที่ถูกลมพัดให้พลิ้วไหวโอนเอน



 เหนือมุขของด้านนี้ เราจะสามารถมองเห็นด้านบนแกะสลักลอยตัวพระพรหมสี่หน้า สื่อถึงหลักธรรมของผู้ปกครอง หรือ ผู้นำ นั่นก็คือพรหมวิหาร 4 ประการ มีเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา  ซึ่งก็คือคุณธรรมอันประเสริฐของผู้ครองแผ่นดิน
ส่วนบนยอดสูงสุดคือ   พระโพธิสัตว์เหยียบกิเลนและหงส์ หมายถึงแผ่นดินที่ประเสริฐนี้เป็นที่ตั้งแห่งผู้ทรงธรรม
ห้องที่สอง (ทิศใต้) คือ ห้องดวงดาว-พระอาทิตย์-พระจันทร์ วิถีชีวิตของมนุษย์จะอยู่ได้ก็ด้วยสิ่งที่สำคัญที่สุด ก็คือ จักรวาล ที่เป็นที่ตั้งของพระอาทิตย์และดวงดาว
ในห้องนี้จะมีภาพจำหลักแสดงถึงพระอาทิตย์ พระจันทร์ และประติมากรรมลอยตัวรูปเทพเจ้าประจำดาวพระเคราะห์ที่โคจรอยู่บนฟากฟ้า ดวงดาวเหล่านี้มีอิทธิพลต่อสิ่งแวดล้อมและวิถีชีวิต ส่งผลต่อสรรพสิ่ง ทำให้เกิดการวิวัฒนาการและพฤติกรรมต่างๆ บนโลก
ห้องที่สาม (ทิศเหนือ)การพัฒนาสังคมและจิตวิญญาณสัญลักษณ์ของโป๊ยเซียนจะมีความหมายถึง “ความสุขความโชคดี และขออำนวยพรให้มีอายุยืนยาวนั่นเอง” 
สื่อถึงประติมากรรมและจำหลักความเชื่อของลัทธิเต๋า-ขงจื๊อ ที่แสดงถึงความมีคุณธรรมสูงส่งของพระโพธิสัตว์ในลัทธิพุทธมหายานมนุษย์แม้ว่าจะมีชาติกำเนิดที่แตกต่างกัน แต่ถ้ามุ่งมั่นเป็นคนดี ก็สามารถหลุดพ้นบ่วงกรรมโดยปลดปล่อยตัวจากสิ่งสมมติและกิเลศ ตัณหา อุปทาน แล้วเรียนรู้การเสียสละการแบ่งปันกันด้วยความรักซึ่งกันและกัน มนุษย์นั้นสามารถหลุดพ้นจากบ่วงแห่งกรรมได้เช่นกัน (หรือแก้ไขในพฤติกรรมไม่ดี โดยการประกอบบุญกุศลอันเป็นมงคล) ในด้านนี้บ่งบอกปรัชญาชาวพุทธลัทธิมหายานว่าศาสนาพุทธเป็นเหมือนยานพาหนะลำใหญ่ที่จะพาผู้คนข้ามพ้นวัฎจักรสงสาร การเวียน ว่าย ตาย เกิด ถึงแม้จะมีชาติกำเนิดต่างกันก็สามารถหลุดพ้นจากกรรมได้ด้วยการทำความดี



ห้องที่สี่ (ทิศตะวันออก) พ่อและแม่ (ความกตัญญูรู้คุณ)สื่อถึงประติมากรรมแกะลอยตัวเป็นรูปพ่อแม่ ผู้ก่อกำเนิดให้ชีวิตด้วยความรักเมตตา ห่วงใยต่อบุตรและธิดา ความรักของพ่อแม่ยิ่งใหญ่และใสสะอาดบริสุทธิ์ เพราะมีแต่ให้ไม่หวังผล ความรักเมตตาของพ่อแม่จึงยิ่งใหญ่กว่าท้องฟ้าและผืนมหาสมุทร ดังนั้นความสัมพันธ์ของความเป็นมนุษย์ คือ ความมหัศจรรย์ของจิตวิญญาณ สามารถสั่งสอนถ่ายทอด การเรียนรู้ที่จะมีชีวิตได้ด้วยการมีความรัก ความเคารพ ความกตัญญูตอบแทนคุณต่อผู้มีอุปการะมากด้วยความดีความซื่อสัตย์ เพราะฉะนั้นความเป็นมนุษย์จึงแตกต่างจากสิ่งมีชีวิตอื่นๆ บนโลกนี้อย่างมากมาย
ส่วนในรูปแกะสลักด้านบน ในแต่ละรูป จะเล่าถึง ชีวิตของคน หนึ่งคน ตั้งแต่อยู่ในครรภ์ของแม่  คลอดออกมา เริ่มฝึกคลาน เดิน จนถึงเวลาอันสมควรในการเล่าเรียนศึกษา  ทำงาน แต่งงาน จนถึงรูปตอนแก่เฒ่า เป็นวัฏจักรวนเวียนเรื่อยไป 





ห้องที่ห้า ใจกลางปราสาทสัจธรรมมหาบุษบก
ใจกลางปราสาทนั้นเป็นห้องโถงขนาดใหญ่ จะเป็นห้องมหาบุษบก ซุ้มประตูไม้แกะสลักประตูใหญ่ทั้ ง 4 ด้าน ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ทางเข้าสู่จักรวาล หรือ ความหมายของอริยะสัจ4 ที่เป็นหัวใจในหลักคำสั่งสอนแห่งพุทธศาสนา และมหาบุษบกวิมานเป็นสัญลักษณ์สื่อถึงความว่างเปล่าแห่งจักรวาลหรือที่เรียกว่านิพพาน เป็นดั่งศูนย์กลางในจักรวาล คือ สัจธรรมเที่ยงแท้ตั้งแต่ปฐมกาลจนถึงจุดจบของโลกแห่งตัวตนและเป็นที่ประดิษฐานของพระสารีริกธาตุ

ไปดูรูปภาพบรรยากาศภายนอกกันค่ะ










คำศัพท์ภาษาจีน

真理寺
Zhēn lǐ sì
ปราสาทสัจธรรม


建筑
Jiàn zhú
สร้าง ;ก่อสร้าง


融合
Róng hé
ผสมผสาน


宗教思想
Zōng jiào s īxiǎng
ความคิดทางศาสนา

哲学
Zhé xué
ปรัชญา


雕塑
Diāo sù
การแกะสลักและการปั้น


雕刻
Diāo kè           
แกะสลัก


富商
Fù shāng
นักธุรกิจที่ร่ำรวย


瓦里亚潘先生
Wǎ lǐ yǎ pān xiān shēng
คุณเล็ก วิริยะพันธุ์


精湛的工艺
Jīng zhàn de gōng yì
งานฝีมือที่ยอดเยี่ยม


木雕
Mù diāo
งานแกะสลักไม้


艺术
Yì shù
ศิลปะ


木头
Mù tou
ไม้


矗立
Chù lì
ตั้งตระหง่าน


佛教
Fó jiào
ศาสนาพุทธ


印度教
Yìn dù jiào
ศาสนาฮินดู


红木
Hóng mù
ไม้แดง


香坡垒木
Xiāng pō lěi shù
ไม้ตะเคียน


娑罗双木
Suō luó shuāng mù
ไม้เคี่ยมคะนอง


柚木
Yòu mù
ไม้สัก


硬木
Yìng mù
ไม้เนื้อแข็ง


特许权
Tè xǔ quán  
(指由政府或雇主给予的)
สัมปทาน


邻国
Lín guó
ประเทศเพื่อนบ้าน


Méi
ดอก (ลักษณนามของตะปู)
*颗、根、枚、个 ล้วนเป็นลักษณนามที่ใช้กับตะปู


钉子
Dīng zi
ตะปู


打楔子
Dǎ xiē zi
เข้าลิ่ม


楔子
Xiē zi
ลิ่ม ;หมุดไม้


插销
Chā xiāo
สลักประตู ;สลักบานประตู


Sǔn
เดือย(ของไม้ที่ใช้สวมประกบกับรูเดือย)


Mǎo
รูบากสำหรับสวมเดือยเข้ารู


榫卯
Sǔn mǎo
เดือยที่จะสวม และรูบาก เดือยเบ้าและ


结构
Jié gòu
โครงสร้าง


建造
Jiàn zào
สร้าง ;ก่อสร้าง


高度
Gāo dù
ความสูง


宽度
Kuān dù
ความกว้าง


เมตร


占地
Zhàn dì
การครอบครองที่ดิน


面积
Miàn jī
พื้นที่


平方米
Píng fāng mǐ
ตารางเมตร


一个十字架
Yí gè shí zì jià
ทรงจัตุรมุข


底部的
Dǐ bù de
ด้านล่าง


浮雕
Fú diāo
แกะสลักลอยตัว


重檐庑殿顶
Chóng yán wǔ diàn dǐng
หลังคาซ้อน


大乘塔
Dà shèng tǎ
พระปรางค์


天神
Tiān shén
เทวดา


女神
Nǚ shén
เทพี;เทพธิดา


经文
Jīng wén
คัมภีร์


莲花
Lián huā
ดอกบัว


稻穗
Dào suì
รวงข้าว


鸽子
Gē zi
นกพิราบ


牵着手
Qiān zhe shǒu
จูงมือ


孩子
Hái zi
เด็ก


老人
Lǎo rén
คนชรา


天神骑马
Tiān shén qí mǎ
เทวดาทรงม้า


世界和平
Shì jiè hé píng
สันติภาพบนโลก


四大要素 / 大种
Sì dà yào sù / Dà zhǒng
ธาตุทั้งสี่


地大
Dì dà
ธาตุดิน


水大
Shuǐ dà
ธาตุน้ำ


火大
Huǒ dà
ธาตุไฟ


风大
Fēng dà
ธาตุลม


湿婆
Shī pó
พระอิศวร หรือ พระศิวะ


毗湿奴
Pí shī nú”
พระนารายณ์หรือพระวิษณุ


大蛇阿南塔盘绕
Dà shé ā nán tǎ pán rào
พญาอนันตนาคราช


梵天
Fàn tiān
พระพรหม


四面佛
Sìmiàn fó
พระพรหมสี่หน้า


四无量心/ 四梵行
Sì wú liàng xīn/ Sì fàn xíng
พรหมวิหาร 4 ประการ


เมตตา 


Bēi
กรุณา


มุทิตา


Shě
อุเบกขา


菩提萨埵
Pú tí sà duǒ
พระโพธิสัตว์


麒麟
qí lín
กิเลน


天鹅
Tiān é
หงส์


星星
Xīng xīng
ดวงดาว


太阳
Tài yáng
พระอาทิย์


月亮
Yuè liàng
ดวงจันทร์


宇宙
Yǔ zhòu
จักรวาล


中国风格
Zhōng guó fēng gé
สไตล์จีน


八仙
Bā xiān
โป๊ยเซียน (เทพเจ้าจีน)


父母
Fù mǔ
พ่อแม่


孝顺
Xiào shùn
ความกตัญญูรู้คุณ


人的一生
Rén de yìshēng
ชีวิตของคน ; ชีวิตของมนุษย์


怀孕
Huái yùn
ตั้งครรภ์


出生
Chū shēng
คลอด


爬行
Pá xíng
คลาน


长大
Zhǎng dà
โตขึ้น ; เติบโตขึ้น


走路
Zǒu lù
เดิน


学习
Xué xí
เรียนรู้


结婚
Jié hūn
แต่งงาน ; ออกเรือน


长老
Zhǎng lǎo
แก่


循环的
Xún huán  de
วัฏจักร


四谛
Sì dì
อริยะสัจ 4

*“谛”  即”真理”

苦谛
Kǔ dì
ทุกข์


集谛
Jí dì
สมุทัย


灭谛
Miè dì
นิโรธ


道谛
Dào dì
มรรค 


佛教基本教义
Fó jiào jī běn jiào yì
คำสอนพื้นฐานทางพุทธศาสนา


象征
Xiàng zhēng
สัญลักษณ์


解脱
Jiě tuō
การหลุดพ้น


涅槃
Niè pán
นิพพาน


真理
Zhēn lǐ
สัจธรรม


创世纪
Chuàng shì jì
ก่อกำเนิดโลก


世界末日
Shì jiè mò rì
 วันโลกาวินาศ


舍利者
Shè lì zhě
พระสารีริกธาตุ



สำหรับใครที่ว่างแล้วสนใจที่จะไปเยี่ยมชมก็สามารถไปได้ทุกวันนะคะ รับรองว่าคุ้มค่าคุ้มราคาและเวลาค่ะ

(ขออภัยสำหรับรูปภาพนะคะ ถ่ายรูปไว้เยอะมาก แต่พอจะเอามาเขียนบทความ กลับหารูปเหล่านั้นไม่เจอ ทำให้ได้รูปที่เป็นการไปครั้งล่าสุดเท่านั้น)



🍒🍒🍒



Basic Expressions for Dialogues---Inquiries 询问用语

  询问用语 xúnwèn yòngyǔ Inquiries 👇👇👇 A: 你怎么上学? nǐ zěnme shàngxué? How do you go to school? B: 我通常步行上学。有时候骑自行车。 wǒ tōngcháng bùxíng shà...

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม