แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ วัดโพธิ์ แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ วัดโพธิ์ แสดงบทความทั้งหมด

ที่จอดรถใกล้พระบรมมหาราชวัง วัดพระแก้ว วัดโพธิ์ ราชนาวีสโมสร


       สำหรับใครที่กำลังหาที่จอดรถที่ใกล้กับพระบรมมหาราชวัง วัดพระแก้ว วัดโพธิ์ แล้วต้องการที่จะขับรถไปและยังเป็นกังวลใจว่าจะไปจอดรถได้ที่ไหนนั้น สำหรับบทความนี้แอดมินเลยแนะนำสถานที่ในการจอดรถ ซึ่งถือว่ามีพื้นที่ค่อนข้างใหญ่กว้างขวาง


 ที่จอดรถในส่วนนี้เฉพาะเจ้าหน้าที่เท่านั้นนะคะ


ที่จอดรถในส่วนนี้เฉพาะเจ้าหน้าที่เท่านั้นนะคะ

ที่จอดรถในส่วนนี้บุคคลทั่วไปสามารถนำรถเข้ามาจอดได้ค่ะ


 นั่นก็คือ “ราชนาวีสโมสร”  สำหรับที่จอดของราชนาวี จะเปิดให้บริการตั้งแต่ 06:00 – 22:00. ส่วนค่าบริการนั้น15นาทีแรก ฟรี เกิน 15 นาที คิดเป็น 1 ชั่วโมง ดังนั้นชั่วโมงแรกจะอยู่ที่ 30 บาท ชั่วโมงต่อไปก็ชั่วโมงละ 20 บาท แล้วถ้าจอดเกิน 8 ชั่วโมง ก็เหมาจ่ายไป 150 บาทค่ะ 




     แต่ถ้าใครไปทานข้าวตรงราชนาวีสโมสร ก็สามารถเอาบัตรจอดรถไปปั๊มได้นะคะ เราก็จะได้จอดรถฟรี (ถ้าจำไม่ผิดคือ ต้องกินเกิน 200 บาทขึ้นไป ถึงจะเอาบัตรจอดรถไปปั๊มได้นะคะ)และที่นี่ยังมีห้องน้ำเอาไว้ให้บริการโดยคิดราคาอยู่ที่ 5  บาท



สำหรับคำศัพท์ที่เกี่ยวข้อง กับที่จอดรถ

停车场 
Tíng chē chǎng  
ที่จอดรถ ลานจอดรถ

停车位/ 车位  
Tíng chē wèi / Chē wèi  
ที่จอด

露天停车场 
Lù tiān tíng chē chǎng 
ที่จอดรถกลางแจ้ง

室内停车场 
Shì nèi tíng chē chǎng  
ที่จอดรถในร่ม

免费车位 
Miǎn fèi chē wèi 
ที่จอดรถฟรี

付费车位 
fèi chē wèi 
ที่จอดรถที่เสียค่าใช้จ่าย

固定车位 
dìng chē wèi 
ที่จอดรถแบบประจำ

临租车位 
Lín zū chē wèi 
ที่จอดรถให้เช่า

停车卡 
Tíng chē kǎ  
บัตรจอดรถ

收费 
Shōu fèi 
เก็บค่าใช้จ่าย   ค่าใช้จ่าย

费用 
Fèi yòng 
ค่าใช้จ่าย

停车费 
Tíng chē fèi 
ค่าจอดรถ

收费车位包天 
Shōu fèi chē wèi bāo tiān 
ค่าจอดรถแบบเหมาจ่ายรายวัน

收费车位包月
Shōu fèi chē wèi bāo yuè 
ค่าจอดรถแบบเหมาจ่ายรายเดือน

收费车位包年
Shōu fèi chē wèi bāo nián 
ค่าจอดรถแบบเหมาจ่ายรายปี




💦💦💦💦

พระวิหารทิศ ในวัดโพธิ์ 方位殿

         หากจะกล่าวถึงวัดทีมีพระพุทธรูป佛像มากที่สุดในประเทศไทยแล้ว วัดโพธิ์ 卧佛寺 ก็ถือว่าเป็นอันดับต้นๆที่มีพระพุทธรูปประดิษฐานอยู่มากที่สุดวัดหนึ่งเลยค่ะ ซึ่งพระพุทธรูปที่ท่านๆเห็นกันเป็นจำนวนมากในวัดโพธิ์นั้น  มีทั้งที่อยู่คู่กับวัดโพธิ์มาตั้งแต่สมัยอยุธยา 大城时代 และที่มาจากการรวบรวมมาจากหัวเมืองต่างๆ ในสมัยของต้นรัตนโกสินทร์  ซึ่งเมื่อครั้งที่ รัชกาลที่ 1 พระองค์ได้โปรดให้อัญเชิญพระพุทธรูปมาจากเมืองสุโขทัย素可泰  อยุธยา大城 พิษณุโลก彭世洛 ศรีสัชนาลัย西萨差那莱 และลพบุรี华富里  ลงมาปฏิสังขรณ์ซ่อมแซมใหม่ถึง 689  องค์ รวมกับพระพุทธรูปที่มีอยู่เดิม 183 องค์ เป็น 872 องค์ แล้วได้ทรงโปรดเกล้าฯให้ประดิษฐานไว้ในพระวิหารคด曲殿  และพระระเบียง走廊 ของวัดโพธิ์ นอกจากนี้ยังโปรดเกล้าฯให้อัญเชิญพระพุทธรูปองค์สำคัญๆขนาดใหญ่มาประดิษฐานในวิหารทิศ方位殿 แต่ละหลังด้วย


บทความนี้เราจะไปดู พระพุทธรูปองค์ต่างๆ ในวิหารทิศกันค่ะ

พระวิหารทิศ方位殿 นั้น เชื่อมต่อกับพระระเบียง走廊  อยู่รอบพระอุโบสถ大雄宝殿 ทั้งสี่ทิศ  โดยแบ่งออกเป็น ทิศตะวันตก西殿  ทิศเหนือ北殿 ทิศตะวันออก东殿  และทิศใต้南殿 ค่ะ  เรามาเริ่มกันที่



พระวิหารทิศตะวันตก西殿 ประดิษฐานพระพุทธรูปปางนาคปรก 蛇神护法佛  อัญเชิญมาจากลพบุรี 华富里 นามว่า “พระพุทธชินศรีมุนีนาถ อุรุคอาสนบัลลังก์  อุทธังทิศภาคนาคปรก ดิลกภพบพิตร” หรือ “พระพุทธชินศรี 清洗佛陀 ว่ากันว่า เดิมเป็นพระพุทธรูปขนาดหน้าตักสามศอกคืบสิบนิ้ว ครั้นเมื่อปฏิสังขรณ์แล้ว จึงประดิษฐานไว้เป็นพระประธานพระวิหารทิศตะวันตก และได้สร้างพญานาคแผลงฤทธิ์และต้นจิกไว้ด้านหลังพระประธานด้วย จึงถูกเรียกว่า “พระนาคปรก” พระพุทธชินศรีอยู่ในอิริยาบถนั่งขัดสมาธิราบ ลักษณะคือ พระชงฆ์ขวาวางอยู่เหนือพระชงฆ์ซ้าย ทำให้แลเห็นฝ่าพระบาทขวาเพียงข้างเดียว ในขณะที่ฝ่าพระบาทซ้ายอยู่ใต้กพระชานุขวา พระหัตถ์ทำปางมารวิชัย ลักษณะคือ พระหัตถ์ขวาวางอยู่หน้าพระชงฆ์ขวา พระหัตถ์ซ้ายวางอยู่เหนือพระเพลา พระองค์ประทับอยู่บนขนดนาคซ้อนกัน  4 ชั้น เบื้องหลังเป็นพังพานและเศียรนาค 7 เศียร และมีต้นจิกอยู่ถัดออกไปทางเบื้องหลัง
ซึ่งตามปกติแล้วพระพุทธรูปปางนาคปรกนิยมทำพระหัตถ์ในท่าสมาธิ พระหัตถ์ทั้งสองวางเหนือพระเพลาโดยพระหัตถ์ขวาวางบนพระหัตถ์ซ้าย แต่พระพุทธชินศรีกลับอยู่ในท่ามารวิชัย เป็นสิ่งที่อยู่นอกแบบแผนประเพณี ที่เป็นเช่นนี้อธิบายได้ว่าเพราะขนดนาคกับพระพุทธรูปมิได้สร้างขึ้นครั้งเดียวกัน โดยขนดนาคทำขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 1 ส่วนพระพุทธชินศรีสร้างขึ้นครั้งกรุงสุโขทัย ซึ่งเป็นยุคสมัยที่นิยมพระพุทธรูปปางมารวิชัยเป็นอย่างยิ่ง สร้างขึ้นโดยมิได้ตั้งใจให้เป็นพระพุทธรูปนาคปรกมาแต่แรก แต่ด้วยพระราชประสงค์ของรัชกาลที่ 1 ที่โปรดอัญเชิญพระพุทธรูปองค์นี้มาประดิษฐานไว้เหนือขนดนาค จึงทำให้เกิดเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยประทับอยู่บนขนดนาค
สำหรับในส่วนของนาคยังมีข้อน่าสังเกตเพิ่มเติมอีก กล่าวคือ คัมภีร์พุทธศาสนาต่างพรรณนาเหตุการณ์นี้ว่าพญานาคมุจลินท์ขนดกายล้อมองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า 7 รอบ และแผ่พังพานปกป้องพระเศียร แต่ขนดนาคที่ปรากฏร่วมกันกับพระพุทธชินศรีกลับทำในลักษณะของบัลลังก์ให้พระพุทธองค์ประทับ มิได้ล้อมรอบ และพังพานนาคก็มิได้ปกเหนือพระเศียรอย่างมิดชิด แต่เหมือนแผ่อยู่เบื้องหลังมากกว่า แม้ว่าจะไม่สอดคล้องกับคัมภีร์พุทธศาสนา แต่นาคในลักษณะเช่นนี้ก็นิยมทำกันมาเนิ่นนานแล้ว และสร้างพลังศรัทธาในองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าต่อผู้พบเห็นได้เป็นอย่างดี ประหนึ่งว่าแสดงอิทธิปาฏิหาริย์เหนือพญานาค แต่หากทำขนดนาคล้อมรอบ 7รอย และแผ่พังพานคุ้มกันอย่างมิดชิด อาจให้ความรู้สึกอึดอัดต่อผู้พบเห็น เพราะเสมือนว่าพระพุทธองค์กำลังถูกนาคทำร้าย
พระพุทธชินศรีมีรูปแบบตามอย่างพระพุทธรูปสุโขทัยสอดคล้องกันกับประวัติที่ระบุว่าอัญเชิญมาจากเมืองสุโขทัย แต่ทั้งนี้ลักษณะบางประการโดยเฉพาะพระพักตร์ในสมัยรัชกาลที่ 1 โปรดให้อัญเชิญมาจากเมืองสุโขทัย แต่ทั้งนี้ลักษณะบางประการโดยเฉพาะพระพักตร์ก็ดูละม้ายกับพระพุทธสมัยรัตนโกสินทร์อยู่บ้าง ชวนให้นึกถึงข้อมูลเอกสารที่ระบุว่าในสมัยรัชกาลที่ 1 โปรดให้อัญเชิญพระพุทธรูปที่ชำรุดหักพังจากหัวเมืองต่างๆ คือ พิษณุโลก สวรรคโลก สุโขทัย ลพบุรี อยุธยา จำนวน 1,248 องค์ มาปฏิสังขรณ์ อาทิ ต่อพระศอ พระเศียร พระบาท พระหัตถ์ที่ชำรุดเสียหาย แปลงพระพักตร์ แปลงพระองค์ให้งดงาม อาจเป็นไปได้ว่าพระพุทธชินศรีก็เป็นหนึ่งในพระพุทธรูปที่อัญเชิญมาในครั้งนี้ด้วย

ขอบคุณข้อมูลจาก http://www.watpho.com/buddha.php




พระวิหารทิศเหนือ 北殿 ประดิษฐานพระปางป่าเลไลยก์ นามว่า “พระพุทธปาลิไลยภิรัติไตรวิเวก เอกจาริกสมาจาร วิมุติญาณบพิตร” หรือ “พระพุทธปาลิไลย 禅定佛” เป็นพระพุทธรูปที่หล่อขึ้นใหม่ในสมัยรัชกาลที่ 1 เพียงองค์เดียวเท่านั้น นอกจากนี้ยังสร้างรูปช้างถวายคนทีน้ำ และรูปลิง 猴子ถวายรวงผึ้งอีกด้วย







พระวิหารทางทิศตะวันออก东殿 ภายในมีพระพุทธรูปปางยืน立佛สูง 10 เมตร หล่อด้วยสำริด เป็นพระพุทธรูปที่รัชกาลที่ ทรงโปรดฯให้อัญเชิญมาจากวัดพระศรีสรรเพชญ์ 大觉寺จังหวัดพระนครศรีอยุธยา大城 府 พระยืนองค์นี้ยังเป็นพระพุทธรูปองค์ที่มีขนาดใหญ่และมีความสมบูรณ์ที่สุด ที่ตกทอดมาจากสมัยอยุธยา มีนามว่า “พระพุทธโลกนาถศาสดาจารย์”




พระวิหารทางทิศใต้南殿 ประดิษฐานพระพุทธรูปปางปฐมเทศนาอัญเชิญมาจากกรุงเก่า นามว่า “พระพุทธชินราช วโรวาทธรรมจักร อัครปฐมเทศนา  นราศภบพิตร” หรือ ที่เรียกว่า “พระพุทธชินราช成功佛或七那拉佛









ว่าด้วย ตุ๊กตาหินจีน ที่วัดโพธิ์ 中国石像 Chinese Stone Statues


     ถ้าใครที่เคยได้ไปเที่ยววัดโพธิ์ คงจะเห็นว่า ที่วัดโพธิ์นั้น มีตุ๊กตาหินจีนอยู่มากมาย หันไปทางไหนก็เจอ ดังนั้น บทความนี้เราจะมาเล่าถึง “ตุ๊กตาหินจีน ที่วัดโพธิ์” กันค่ะ

           ตุ๊กตาหินจีนที่ทุกท่านเห็นกันนั้น ส่วนใหญ่นำเข้ามาจากเมืองจีนในสมัยรัชกาลที่ 3 ค่ะ เนื่องด้วยความรุ่งเรืองของการติดต่อค้าขายระหว่างสยามกับจีน ซึ่งพ่อค้าไทยในสมัยนั้น มักบรรทุกสินค้าไปขายยังเมืองจีนเป็นสินค้าที่มีน้ำหนักมาก เมื่อจะเดินเรือกลับมาจึงจำเป็นต้องหาสิ่งของถ่วงเรือเพื่อป้องกันเรือโคลง แต่สินค้าที่เมืองจีนส่วนใหญ่เป็นสินค้าที่มีน้ำหนักเบา ดังนั้นก็ต้องคิดหาวิธีทำให้เรือมีน้ำหนักมากขึ้น พ่อค้าชาวไทยจึงได้นำ พวกตุ๊กตาหินมาเพื่อที่จะทำให้เรือมีน้ำหนักเพิ่มขึ้น  ซึ่งตุ๊กตาหินเหล่านี้ พวกเราจะเรียกว่า “ อับเฉา” ดังนั้น  “อับเฉา” จึงหมายถึง ของถ่วงเรือกันเรือโคลง เชื่อว่ามีที่มาจากพื้นที่ในท้องเรือสำเภาซึ่งเป็นที่อับมีน้ำซึมขังตลอดเวลา ไม่เหมาะจะบรรทุกสินค้า ดังนั้น จึงถูกใช้เป็นที่วางตุ๊กตาหินจีนถ่วงเรือและเป็นที่มาของคำเรียกตุ๊กตาหินจีนเหล่านี้ค่ะ


          你们所看到在卧佛寺的中国石像大多数是在第三世皇时代从中国运来的。当年的泰国商人,乘船运往中国的货物都非常重,而从中国买回来的货物都是轻轻的,是因为船太轻,所以要想办法增加船的负载量,只好装载一些石像,船才不会摇摇摆摆的。这些石像泰国人来叫“压舱物”。“压舱物”这个词就指防止船身摇晃的重物。

            แล้วทำไมตุ๊กตาหินถึงได้มาอยู่ที่วัดหล่ะ? คำตอบก็คือ ในสมัยนั้นนิยมนำมาตั้งประดับตามวัดและอาคารสถานที่ต่างๆนั่นเองค่ะ

          那为什么中国石像会放在寺庙里? 回答的是:那个时候喜欢把中国石像放在寺庙和其他建筑物为装饰。

            เรามาดูกันว่า ตุ๊กตาจีนที่วัดโพธิ์ มีตุ๊กตาอะไรกันบ้าง ซึ่งจากหลักฐานที่ทางวัดโพธิ์บอกไว้ มีดังนี้ค่ะ 

            我们来看看,在卧佛寺的中国石像有哪儿些造型?


ตุ๊กตาหินจีนในวัดโพธิ์สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่ม ดังนี้

卧佛寺中的中国石像可以分为三类,分别是:


1.รูปบุคคล ได้แก่ ขุนนางจีน เทพเจ้าจีน เซียน พระอรหันต์ รูปฝรั่ง รูปผู้ชาย รูปผู้หญิง เด็กชายและเด็กหญิง

人物像造型,包括:中国神仙玉皇大帝佛祖中国贵族男人女人贵族女性男孩和女孩







2.รูปสัตว์ ได้แก่ สิงโต กวาง ม้า ช้าง แพะ หมู สิง เสือและกระบือ

动物像造型,包括:狮子鹿大象山羊猴子老虎





3.รูปสิ่งของ ได้แก่ซุ้มประตู เจดีย์จีน เสาใช้แขวนประทีป กลอง ม้านั่ง อ่างน้ำ และกระถาง

物品象造型,包括:门框中国佛塔挂灯杆木马水缸花盆






*ภาษาที่ใช้อาจไม่เป๊ะ ยังไงก็ต้องขอโทษมา ณ ที่นี้ด้วยนะคะ

บทความที่เกี่ยวข้องกับวัดโพธิ์




ชื่อเรียก ยักษ์วัดโพธิ์ เป็นภาษาจีน 卧佛寺的泰国守门神



สิ่งหนึ่งในวัดโพธิ์ที่ไม่ควรพลาดเลยในการเยี่ยมชม นั่นคือ “ยักษ์วัดโพธิ์” ที่ตั้งอยู่บริเวณซุ้มประตูทางเข้า “พระมณฑป” หรือ “หอไตรจัตุรมุข” ซึ่งอยู่ใกล้ๆกับต้นโพธิ์ใหญ่ทางทิศใต้ของพระวิหารพระพุทธไสยาสน์

       ยักษ์วัดโพธิ์เป็นประติมากรรมที่มีรูปลักษณะตามวรรณคดีเรื่องรามเกียรติ์ สูง 175 เซนติเมตร ซึ่งจะเห็นว่าไม่ได้มีขนาดใหญ่โตเหมือนกับยักษ์วัดอรุณหรือยักษ์วัดพระแก้ว

ซึ่งตามประวัติแล้ว  เดิมยักษ์วัดโพธิ์มีด้วยกัน 8 ตน ซึ่งยักษ์เหล่านี้ถูกสร้างขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 เมื่อครั้งทำระเบียงพระมหาเจดีย์ ได้โปรดเกล้าฯให้รื้อซุ้มประตูทางเข้าพระมณฑปออกไป 2 ซุ้ม ดังนั้นในปัจจุบันยักษ์วัดโพธิ์จึงเหลือเพียง 4 ตนเท่านั้น
       เราไปดูชื่อยักษ์วัดโพธิ์แต่ละตนกันดีกว่าค่ะ ว่าแต่ละตนจะเรียกเป็นภาษาจีน ว่ายังไงกันบ้าง






玛雅拉神
Mǎ yǎ lā shén 
พญาไมยราพณ์ (Maiyarap) ยักษ์กายสีเขียว

帕拉雅孔神
Pà lā yǎ kǒng shén 
พญาขร (Praya Korn) ยักษ์กายสีม่วงอ่อน

萨塔素神 
Sà tǎ sù shén  
พญาสัทธาสูร (Satthasoone) ยักษ์กายสีหงเสน (สีอิฐ-ชมพู)


散啊提神
Sàn a tí shén 
พญาแสงอาทิตย์ (Saengarthit) ยักษ์กายสีแดง

ซุ้มประตูที่โดนรื้อถอนแล้ว มียักษ์

托萨甘神
Tuō sà gān shén 
ทศกัณฐ์ (Tot Sa Kan)

萨哈德察神
Sà hā dé chá shén 
สหัสสเดชะ( Sahassadecha)

因托拉其神
Yīn tuō lā qí shén
อินทรชิต( Intrachit )

素里亚坡神
Sù lǐ yǎ pō shén
สุริยาภพ (Suriyanuparp)

💦💦💦💦

Basic Expressions for Dialogues --- Making an Apology道歉用语

  道歉用语   Making an Apology 1 A: Oh,sorry! 对不起。 duìbùqǐ. B: It’s OK. 没关系。 méiguānxi.   2 A:Sorry about that! 真抱歉。 zhēn bàoqiàn. B: No problem...

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม