ไชน่าทาวน์ไม่ได้มีแค่เรื่องกิน แต่ยังมีวัดสำคัญที่ควรจะแวะไปเที่ยวชมเป็นอย่างยิ่ง
เพราะที่นั่นคุณจะเจอพระใหญ่ที่ทำจากทองที่ใหญ่ที่สุดในโลก และที่นั่นก็คือ “วัดไตรมิตร” 金佛寺 Golden
Buddha
ก่อนอื่นเราไปดูประวัติของวัดไตรมิตรกันก่อนเลยค่ะ
วัดไตรมิตร เมื่อก่อนไม่ได้ใช้ชื่อ"วัดไตรมิตร" นะคะ ตามบันทึกทางประวัติศาสตร์แล้ว วัดนี้เป็นวัดที่สร้างโดยความร่วมมือของชาวจีน 3 คน ในช่วงปี พ.ศ.2382
(1839) เพราะด้วยเหตุนี้ชื่อที่วัดนี้จึงถูกเรียกว่า “วัดสามจีน” จนเมื่อถึงปี
พ.ศ.2482 (1939)สมเด็จพระวันรัต ได้เปลี่ยนชื่อเป็น “วัดไตรมิตร”
ซึ่งถือว่าเป็นชื่อที่ไพเราะกว่าชื่อเดิมมาก ซึ่งแปลจากภาษาไทยแล้วความหมายก็ยังคงหมายถึง
“วัดที่สร้างโดยคน3 คน”
"Wat Traimit" 或 "三友寺",之前是没有使用"Wat Traimit" 的名字 。根据记载,这该寺庙是在1839年间由三名华侨发心建造的佛寺,泰文叫做“Wat Samgene”意思是 “三华(人)寺”。到了1939年,当时副僧王旺纳乐长老把原来的寺名改做“Wat Traimit” 意思是 “三友寺”。新的寺庙名比较古雅,也同样表示了这是一座由“三个人”合建的佛寺。
พระมหามณฑป大金刚宝阁
จุดประสงค์หลักในการสร้าง
“พระมหามณฑปพระพุทธมหาสุวรรณปฏิมากร” ก็เพื่อเฉลิมพระเกียรติในโอกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่
9 ทรงครองสิริราชสมบัติครบ
60 ปี ในปี พ.ศ. 2549 และทรงเจริญพระชนมพรรษา 80 พรรษาในปี
พ.ศ. 2550 และ มีความมุ่งหวังว่า พระมหามณฑปหลังใหม่นี้
จะมีความวิจิตรงดงามควรค่าแก่องค์หลวงพ่อทองคำ ซึ่งพระมหามณฑปหลังได้นำ หินอ่อน
มาใช้ในการก่อสร้างนี้ โดยใช้เวลาในการก่อสร้างประมาณ 2 ปี
建 "大金刚宝阁" 的目的是 为了庆祝我们泰国第九世皇80大寿,该佛殿的结构中使用了白色大理石,用了差不多2年的时间才建好。
พระมหามณฑป ในวัดไตรมิตรวิทยาราม มีทั้งหมดด้วยกัน
4 ชั้น
大金刚宝阁,总共有4层,就是
ชั้นที่1 คือพื้นที่จอดรถ
第一层是,停车场
ชั้นที่2 คือ ศูนย์ประวัติศาสตร์เยาวราช
第二层是,唐人街博物馆
ชั้นที่ 3 คือ นิทรรศการหลวงพ่อทองคำ
第三层是, 大金佛展示
ชั้นที่ 4 คือวิหารพระพุทธมหาสุวรรณปฏิมากร
第四层是,金佛殿
** นิทรรศการที่ชั้น2และชั้น 3 เปิดให้บริการวันอังคาร ถึงวันอาทิตย์ เวลา 08:00-16:30น.
** พระมหามณฑปชั้น 4 เปิดทุกวัน ตั้งแต่เวลา 08:00 - 17:00น.
门票共100泰铢,四楼金佛殿,门票40泰铢
เรามาดูประวัติของพระพุทธรูปทองคำกันค่ะ
พระพุทธมหาสุวรรณปฏิมากร (หลวงพ่อทองคำ)
พระพุทธมหาสุวรรณปฏิมากร (หลวงพ่อทองคำ) เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย
ศิลปะสุโขทัย แต่เดิมประดิษฐานอยู่ในวัดมหาธาตุแห่งกรุงสุโขทัย
แต่เนื่องจากภายนอกองค์พระพุทธรูปถูกโบกทับด้วยปูน ทำให้เข้าใจกันว่า
พระพุทธรูปองค์นี้คือ “พระพุทธรูปปูนปั้น” ค่ะ
ซึ่งพระพุทธรูปองค์นี้ได้ถูกอัญเชิญมาในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 3 ซึ่งคราวนั้นได้อัญเชิญมาประดิษฐานอยู่ที่วัดโชติการาม(หรือวัดพระยาไกร
เขตยานนาวา) ซึ่งต่อมาในช่วง ร. 5 วัดพระยาไกรกลายเป็นวัดร้าง เพราะว่าได้ให้ทาง บริษัท
อิสเอเชียติ๊ก จากเดนมาร์กได้เช่าพื้นที่วัดเพื่อเป็นโรงเลื่อยจักร ซึ่งในวัดพระยาไกรนี้ได้ประดิษฐานพระพุทธรูปอยู่
2 องค์ องค์แรก คือ “พระพุทธรูปทองสัมฤทธิ์” องค์ที่สอง
คือ “พระพุทธรูปปูนปั้น”
องค์แรกนั้นได้ถูกอัญเชิญไปไว้ที่ วัดไผ่เงินโชตนาราม ส่วนพระพุทธรูปปูนปั้นนั้นได้ถูกอัญเชิญไปประดิษฐานที่วัดไตรมิตร
ซึ่งได้อัญเชิญพระพุทธรูปมาไว้ข้างๆเจดีย์องค์หนึ่งของวัดไตรมิตรฯ
เป็นเวลาประมาณเกือบ 20 ปี
大金佛是素可泰艺术风格的降魔佛,原来供奉在素可泰城的“舍利寺”,因为佛身上给盖上一层水泥,所以大家都以为这是一尊“泥塑大佛”。这尊“泥塑大佛”,在曼谷王朝第三世皇时代,就把大佛请到曼谷来了,当年大佛被供奉在曼谷的光明寺里,后来到了曼谷王朝第5世皇时代,光明寺成为一座废弃的寺庙,寺庙把地方租给丹麦公司,来办一家锯木厂 。光明寺里面供奉着两尊大佛;一是,“铜佛像”,二是“泥塑佛像”。“铜佛像”就被送到 Wat Phai Ngoen Chot Na Ram,而“泥塑佛像”却送到 “三友寺”。当时的泥塑佛像大佛暂时给安置在一座佛塔的旁边共约20年。
จนได้มีการก่อสร้างพระวิหารขึ้นมาเพื่อประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้นที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์เท่านั้นค่ะ
เมื่อวิหารสร้างแล้วเสร็จ
ได้ดำเนินการเคลื่อนย้ายพระพุทธรูปเพื่ออัญเชิญไปประดิษฐานในวิหารที่สร้างใหม่
ปรากฏว่าปูนได้กะเทาะออกเห็นเป็นทองคำอยู่ข้างใน ซึ่งได้รับการบันทึกในหนังสือกินเนสส์บุ๊คว่าเป็น
"ปูชนียวัตถุที่มีมูลค่าสูงที่สุดในโลก" จนเมื่อกระทั่งปี พ.ศ. 2551 ได้ถูกอัญเชิญเคลื่อนย้ายเป็นครั้งสุดท้าย
เพื่อประดิษฐาน ณ พระมหามณฑป เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2551 รวมระยะเวลาที่ประดิษฐานในพระวิหารหลังเดิมทั้งสิ้น
52 ปี
当时该佛殿的目的只是为了供奉这尊具有历史性的泥塑大佛。佛殿盖好了,正要把大佛抬上佛殿的时候,大佛外层水泥裂开了,才发现里头竟是一尊金佛。世界纪录,已经给金佛作了记录,说这是“世界上最宝贵的宝藏”。到了 2008年,金佛就搬到“大金刚宝阁”。所以这尊金佛已经供奉在旧的佛殿 52 年。
พระพุทธมหาสุวรรณปฏิมากร (หลวงพ่อทองคำ)สูง 3.90 เมตร
หน้าตักกว้าง 3.10เมตร
หนักประมาณ 5.5ตัน
金佛的高度是3.90米,膝部的宽度是3.10米,大约有五吨半重
ด้านหลังขององค์พระ
มีเกร็ดความรู้เล็กมาฝากค่ะ เราดูจากอะไรถึงบอกได้ว่า หลวงพ่อทองคำ
องค์นี้เป็นศิลปะสมัยสุโขทัย ซึ่งมีด้วยกัน 8 ข้อ(ที่พี่ออนนี่คัดมา8ข้อเด่นๆนะคะ)
从哪儿写可以分辨出来这尊佛像是属于素可泰艺术的呢?素可泰神佛像的特色有以下8点,
พระรัศมีเป็นเปลวไฟ
佛光为火焰状
ขมวดพระเกศาค่อนข้างเล็ก
螺状佛发比较小
พระขนง(คิ้ว)โก่ง
佛眉弯
พระพักตร์(ใบหน้า)รูปไข่
佛面呈鹅蛋形
พระโอษฐ์ ( ริมฝีปาก)ยิ้ม
佛口微笑张开
บั้นพระองค์(เอว)คอด
佛腰细
จีวรยาวลงมาจรดพระนาภี (สะดือ)
ปลายแฉกเป็นรูปเขี้ยวตะขาบ
袈裟到佛脐,前端呈蜈蚣齿状
ฐานที่รององค์พระทำเป็นกลีบบัวที่ฐาน
底座是莲花座
*ในส่วนของศูนย์ประวัติศาสตร์เยาวราช ชั้น2 และชั้นที่ 3 นิทรรศการหลวงพ่อทองคำนั้น ทางพี่ออนนี่ไม่ได้เข้าไปชมนะคะ เลยไม่มีรูปมาฝากกัน
**อ้อ และที่วัดนี้ ถ้าเราบอกคนจีนว่า จะพาไป 三友寺 คนจีนบางคนอาจจะไม่รู้จักนะคะ แต่ถ้าพูดว่า 金佛寺 รับรองได้เลยค่ะ ว่าคนจีนจะรู้จักกัน นั่นเป็นเพราะว่า ที่วัดนี้มีพระพุทธรูปทองคำนั่นเอง คนจีนชอบเอาสิ่งที่เป็นสัญลักษณ์สำคัญเอามาตั้งเป็นชื่อเพื่อให้เข้าใจง่ายค่ะ
ผิดพลาดประการใด สามารถเข้ามาแนะนำได้ค่ะ