ช้างเป็นสัตว์คู่บ้านคู่เมืองของเมืองไทยเรา大象是泰国的国宝 (Dà xiàng shì tài guó de guó bǎo) ซึ่งในอดีตที่เรารู้ และเห็นกันคือ
ช้างใช้ไปสู้รบและเป็นช้างคู่บารมีของกษัตริย์
แต่ถ้าเป็นความเชื่อในเรื่องศาสนาก็คงไม่พ้น “ช้างเอราวัณที่เป็นช้างของพระอินทร์ 因陀罗的坐骑 (Yīn tuó luó de zuò qí) ” สำหรับบทความนี้ เราจะไปท่องเที่ยวใกล้กรุง
ซึ่งอยู่บนถนนสุขุมวิท จังหวัดสมุทรปราการ ที่มีชื่อว่า "พิพิธภัณฑ์ช้างเอราวัณ三象神博物馆 (Sān xiàng shén bó wù guǎn) The Erawan Museum" ที่เหมาะแก่การเข้าไปชมอย่างยิ่งค่ะ
ก่อนอื่นเรามาดูกันค่ะว่าทำไมช้างเอราวัณถึงมีสามเศียร
บางตำนานเล่าว่า พระอิศวร湿婆 (Shī pó) ได้ประทานช้างเอราวัณ三头象(Sān tóu xiàng )ให้เป็นช้างทรงของพระอินทร์因陀罗(Yīn tuó luó) บ้างก็ว่า ช้างเอราวัณเป็นเทวดา天神 (Tiān shén) หรือเทพบุตรอยู่บนสวงสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ 天堂(Tiān táng )เมื่อพระอินทร์จะเสด็จไปที่ใด
เทพบุตรเอราวัณก็จะแปลงกลายเป็นช้างเผือก白象(Bái xiàng) 33 เศียรลงมา แต่เมื่อเวลาที่เราสร้างงานศิลปะก็จะลดรูปเพื่อความสวยงาม ดังนั้นก็จะเหลือเพียง3 เศียรเท่านั้น ลองคิดกันดูนะคะว่าถ้าสร้าง 33
เศียรจริงๆนี่ บอกตรงๆเลยว่า คิดภาพไม่ออกเลยค่ะ
พิพิธภัณฑ์ช้างเอราวัณ 三象神博物馆 (Sān
xiàng shén bó wù guǎn) สร้างในเนื้อที่ 12ไร่ (4.75 acres = 4.75英亩 Yīng
mǔ) ในตำบลเมืองใหม่ จังหวัดสมุทรปราการ ตัวช้างเป็นงานประติมากรรมลอยตัว浮动雕(Fú dòng diāo)ด้วยวิธีเคาะโลหะทองแดงด้วยมือเป็นแห่งแรกและมีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก
ซึ่งการเลือกใช้ทองแดงบริสุทธิ์纯铜材质(Chún
tóng cái zhì) เป็นพื้นผิวนั้นก็เพราะว่าเป็นวัสดุที่มีความคงทน
ระบายความร้อนได้ดีซึ่งเหมาะกับอากาศเมืองไทยเรา และที่สำคัญสามารถเคาะขึ้นรูปได้ง่าย พิพิธภัณฑ์ช้างเอราวัณ วัดจากฐานอาคารถึงหัวช้างมีความสูงถึง
43.6 เมตร น้ำหนักของลำตัวช้าง 象身(Xiàng
shēn) หนักถึง
150 ตัน น้ำหนักของเศียรช้าง 象头(Xiàng tóu) หนัก 100 ตัน
พิพิธภัณฑ์ช้างเอราวัณถูกสร้างขึ้นเมื่อ
พ.ศ. 2537 ( ค.ศ.1994)
และเปิดให้เข้าชมเมื่อปีพ.ศ.2546 (ค.ศ.2003)
รวมเวลาสร้างทั้งหมด 9 ปี
พิพิธภัณฑ์แห่งนี้สร้างจากแรงบันดาลใจและความคิดของ คุณเล็ก วิริยะพันธ์ (Mr. Lek Viriyahbhun) เป็นคนเดียวกับที่สร้างเมืองโบราณ古城七十二府 (Gǔ chéng qī shí èr fǔ) The Ancient City จังหวัดสมุทรปราการ
และปราสาทสัจธรร ม真理寺 (Zhēn lǐ sì) Sanctuary of Truth ในเมืองพัทยา
จังหวัดชลบุรี ซึ่งมีความประสงค์เพื่อให้เป็นสถานที่เก็บรักษาศิลปวัตถุ
มรดกทางวัฒนธรรมด้านต่างๆและเพื่อสืบสานอนุรักษ์งานศิลป์ไทย
ให้คงอยู่สืบชั่วลูกชั่วหลานสืบไป
ก่อนที่จะเข้าไปชมพิพิธภัณฑ์
แนะนำว่าก่อนเข้าไปชมให้ไหว้ช้างสามเศียร ก่อนค่ะ ซึ่งจะมีดอกไม้ธูปเทียน และดอกบัวไว้คอยบริการ(รวมอยู่ในค่าบัตรอยู่แล้วค่ะ )
หลังจากที่ไหว้เสร็จแล้ว ก็ไป “ลอยดอกบัว”
ที่เป็นสระน้ำโอบรอบตัวอาคารพิพิธภัณฑ์ การลอยบัวบนสระน้ำเรียกว่าการทำ “ปูรณฆฏะ” (ปู-ระ-นะ-คะ-ตะ) เป็นภาษาบาลี
巴利语(Bā lì yǔ) แปลว่า
“หม้อแจกันแห่งความอุดมสมบูรณ์” ซึ่งน้ำถือเป็นตัวแทนของความสงบเงียบเย็น
ส่วนดอกบัวเป็นตัวแทนของความเจริญงอกงาม และความอุดมสมบูรณ์ อีกทั้งยังเชื่อว่า
การลอยดอกบัวหรือการทำปูรณฆฏะ ทำเพื่อนมัสการพระเจดีย์จุฬามณี 朱拉摩尼塔(Zhū lā mó ní tǎ) ที่อยู่บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์และยังถือว่าเป็นการลอยความทุกข์และสิ่งไม่ดีให้ลอยออกไปด้วยค่ะ
หลังจากที่ไหว้ช้างเอราวัณ และทำการลอยดอกบัวเรียบร้อย
เราก็เข้าไปที่ตัวอาคารของพิพิธภัณฑ์ค่ะ ตัวอาคารนั้นทำเป็นสีชมพูสวยจังค่ะ
บอกเลยว่า สำหรับใครที่ชอบถ่ายรูปแล้ว จำเป็นต้องมี “พิพิธภัณฑ์ช้างสามเศียร”
จดไว้ในลิสต์ด้วยนะคะ
เราไปเริ่มชมชั้นใต้ดิน地下室 (Dì xià shì )กันก่อนค่ะ จากที่เราลอยบัว มองไปขวามือ ก็จะเจอป้าย "ชมนิทรรศการชั้นสุวรรณภูมิ) จะมีประตูให้เราผลักเข้าไปค่ะ ตรงส่วนชั้นใต้ดินนี้เป็นส่วนของชั้นบาดาล 海底世界(Hǎi dǐ shì jiè)
ที่เรียกว่า 素万那普地宫(Sù wàn nà pǔ dì gōng) (ในชั้นนี้ไม่อนุญาตให้ถ่ายรูปค่ะ
) ชั้นใต้ดินนี้จะเป็นส่วนของการจัดเก็บโบราณวัตถุที่เป็นของสะสมส่วนตัว收藏(Shōu cáng) ของคุณเล็ก วิริยะพันธ์ ซึ่งมีทั้งพระพุทธรูป 佛像(Fó xiàng) เทวรูปสมัยต่างๆ และเครื่องลายครามของจีน 中国瓷器(Zhōng guó cí qì) ฯลฯ และในส่วนนี้จะมีองค์จำลองมนุษย์นาค 娜迦蛇妖(Nà jiā shé yāo) นั่งอยู่กึ่งกลางห้อง สร้างขึ้นตามความเชื่อเพื่อให้มนุษย์นาคคอยดูแลโบราณวัตถุอยู่ใต้น้ำ
หลังจากนั้นเราไปเข้าสู่ชั้นโลกมนุษย์หรือที่ภาษาจีนเรียกว่า
美丽人间(Měi lì rén jiān) แค่เห็นก็ตะลึงในความงามแล้วค่ะ ในชั้นนี้จะมีบันไดที่ไปสู่สวงสวรรค์ค่ะ(ชั้นนี้ถ่ายรูปได้ค่ะ
ซึ่งบอกได้เลยว่า สวยทุกมุมจริงๆ )ว่ากันว่า
เมื่อเดินขึ้นบันไดนั้นให้เดินเวียนทักษิณาวัตร นั่นก็คือ
การเดินเวียนตามเข็มนาฬิกา 顺时针(Shùn shízhēn)
ซึ่งถือเป็นการแสดงความเคารพสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ ที่นี่มีอะไรโดดเด่น เมื่อเดินเข้าไปจะเจอ ปูนปั้นประดับเบญจรงค์ซึ่งเป็นฝืมือช่างของชาวเพชรบุรี
งานต้นเสาดีบุกดุนลายจากฝีมือช่างชาวนครศรีธรรมราชและช่างเชียงใหม่ ซึ่งเสาทั้งสี่ต้นนี้แต่ละต้นจะใช้ระยะเวลาในการทำงานประมาณสามปี
และกระจกสี 彩绘玻璃(Cǎi huì bō lí)Stained Glass Painting (กระจกสีเป็นงานศิลปะในวัฒนธรรมตะวันตก
ซึ่งติดตั้งอยู่ที่เพดานอาคารทรงโดมหรือชั้นโลกมนุษย์ของพิพิธภัณฑ์ช้างเอราวัณ
โดยศิลปินผู้ออกแบบและวาดภาพบนกระจกสีนี้เป็นชาวเยอรมัน) และเมื่อเดินขึ้นมาจนสุดบันไดเงินก็จะเป็นทางขึ้นไปสู่ชั้นบนสุด
ปูนปั้นประดับเบญจรงค์
ปูนปั้นประดับเบญจรงค์
ปูนปั้นประดับเบญจรงค์
ปูนปั้นประดับเบญจรงค์
ปูนปั้นประดับเบญจรงค์
งานต้นเสาดีบุกดุนลาย
งานต้นเสาดีบุกดุนลาย
กระจกสี
(งานกระจกสี Stained Glass Painting ชิ้นนี้เป็นงานศิลปะในแนวทางกึ่งนามธรรมแสดงเรื่องราวเกี่ยวกับโลกมนุษย์
ประกอบด้วยทวีปทั้งห้าอยู่ตรงกลางมีดวงอาทิตย์ส่องแสงและให้พลังงานแก่สรรพชีวิต
ทั้งหมดถูกล้อมรอบด้วยจักรราศี 12 ราศีและบริเวณขอบนอกสุดเป็นภาพมนุษย์ที่แสดงอากัปกิริยาต่างนานา
ศิลปินใช้สีเป็นตัวแทนของธาตุทั้ง 4ได้แก่ สีเหลืองคือดิน
สีแดงคือไฟ สีขาวคือลม และสีฟ้าคือน้ำ)
กระจกสี
กระจกสี
กระจกสี
บันไดทางขึ้นจากโลกมนุษย์ไปสู่ชั้นสวรรค์นั้น
เราก็จะพบว่า มีเหล่าเทพทั้งหลาย คอยต้อนรับ
การที่จะขึ้นไปสู่ชั้นสวรรค์ หรือ
จักรวาลนั้น มีสองเส้นทางให้เลือกค่ะ คือ การเดินขึ้นบันไดวน 盘梯 (Pán tī)จำนวน 66 ขั้น หรือ ว่าจะไปทางลิฟต์ 电梯 (Diàn tī) ซึ่งอยู่ทางด้านขวามือของบันไดวน ซึ่งบันไดวนนั้นค่อนข้างแคบและชันค่ะ ถ้ามีอายุหน่อยหรือเดินไม่ไหวแล้ว ขอแนะนำว่าไปขึ้นลิฟต์电梯(Diàn tī) จะดีกว่า
การเดินขึ้นบันไดจำนวน 66 ขั้น
การเดินขึ้นบันไดจำนวน 66 ขั้น
เมื่อมาถึงชั้นสวรรค์天堂(Tiāntáng) หรือ
ศูนย์กลางของจักรวาล世界中心(Shì jiè zhōng xīn)แล้ว
ในส่วนนี้จะมีพระประธานอยู่ 2 องค์ องค์ที่ประทับอยู่ที่
"ปราสาทไพชยนต์” คือ พระพุทธสิหิงค์จำลอง僧伽罗佛像(Sēng jiā luō fó xiàng) ส่วนองค์ด้านล่าง เป็นพระพุทธรูปปางลีลา行走佛(Xíng zǒu fó) ศิลปะสมัยสุโขทัย素可泰艺术Sù
kě tài yìshù เป็นพุทธประวัติตอนที่พระพุทธเจ้าได้เสด็จกลับมาจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
นอกจากนี้ยังเป็นส่วนที่จัดเก็บองค์พระพุทธรูปที่มีอายุสมัยเก่าแก่ และยังมีงานศิลปะบนผนังท้องช้างที่เล่าเรื่องราวเกี่ยวกับระบบสุริยะจักรวาล太阳系 (Tài yáng xì) เป็นเทคนิคสีฝุ่นฝีมือช่างชาวเยอรมัน
(ในชั้นนี้อนุญาตให้ถ่ายรูปด้านตรงในส่วนของพระพุทธรูปปางลีลาเท่านั้นค่ะ
ด้านซ้ายและขวาไม่อนุญาตให้ถ่าย เพราะเป็นพระพุทธรูปที่หายาก)
พระประธานพระพุทธสิหิงค์ กับพระพุทธรูปปางลีลา
พระพุทธรูปปางลีลา
ภาพจิตรกรรมสุริยจักรวาล
หลังจากที่สักการะพระพุทธรูปปางลีลา行走佛(Xíng zǒu fó) และพระพุทธสิหิงค์僧伽罗佛像(Sēng jiā luō fó xiàng)แล้ว ก็เดินกลับลงมาที่ชั้นโลกมนุษย์ เพื่อไปดูบริเวณรอบนอกของพิพิธภัณฑ์กันค่ะ
ที่บริเวณด้านนอกมีสิ่งต่างๆที่น่าสนใจเยอะเลยค่ะ
ส่วนแรกที่เราเห็นคือ สวนป่าหิมพานต์ 雪山林花园(Xuě shān lín huā yuán) สวนป่าหิมพานต์ ก็คือ ต้นไม้ ดอกไม้ในวรรณคดี
นอกจากนั้นก็ยังมีสัตว์ในป่าหิมพานต์雪山林怪兽 (Xuě shān lín guài shòu) เช่น
กระวิกที่มีรูปร่างคล้ายนก แต่มีมือและเท้าเหมือนครุฑ วารีกุญชรที่มีรูปร่างหน้าตาคล้ายช้างแต่มีหางเป็นปลา
และมีศาลพระพรหมเอาไว้ให้เราสักการะบูชาค่ะ ไปดูบริเวณรอบๆกันค่ะ
วันและเวลาทำการ: ทุกวัน ตั้งแต่เวลา 08.00 – 17.00 น.
ค่าเข้าชม: บุคคลทั่วไป ผู้ใหญ่ 200 บาท
เด็ก 100 บาท
: ชาวต่างชาติ
ผู้ใหญ่ 400 บาท
เด็ก 200 บาท
__________